หมวดสินค้า
- ชุดกล่องควบคุมความเร็ว / กล่องคอนโทรลมอเตอร์
- มูเล่ - Pulley สำหรับมอเตอร์ DC
- สินค้าขายดี
- สินค้าทั้งหมด
- สินค้าราคาพิเศษ
- สินค้าเข้ามาใหม่
- สินค้าแนะนำ
- เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ รถจักรยานยนต์
- โซล่าชาร์จเจอร์ MPPT
- ปั้มน้ำโซล่าเซลล์ / SOLAR PUMP
- เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ เครื่องฟื้นฟูแบตเตอรี่
- เครื่องวัดค่าแบตเตอรี่ (CCA)
- มอเตอร์ดีซี / DC Motor
- มอเตอร์ปั๊มชัก 24V-60V
- มอเตอร์บัสเลส / Brushless DC MOTOR (BLDC)
- อุปกรณ์โซล่าเซลล์
- คอนโทรลชาร์จโซล่าเซล
- Grid Tie Inverter
- โคมไฟโซล่าเซลล์
- อินเวอร์เตอร์ 12V 24V 48V to 220V
- Modified Sine Wave Inverter
- สปอร์ตไลท์ LED
- LED โคมไฟถนน 12V 24V 220V
- Pure Sine Wave Inverter
- หลอดไฟ LED
- เครื่องวัด Tester Meter
- อุปกรณ์ DIY LED
- เครื่องตั้งเวลา
- ดิจิตอลโวลท์-แอมป์มิเตอร์
- เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบ12V
- สวิทชิ่ง เพาเวอร์ซัพพลาย / Switching Power supply
- อะไหล่ อิเล็กทรอนิกส์
- ปั๊มน้ำดีซี 12V 24V 36V 48V 60V
- เซ็นเซอร์สวิตซ์
- ดิจิตอลมัลติมิเตอร์/แคลมป์มิเตอร์
- หลอดไฟ ,โคมไฟ ,สปอร์ตไลท์ ฉุกเฉิน
- เครื่องมือช่าง
- เครื่องวัดค่า PH EC TDS
- เครื่องมือการเกษตร
- สวิตซ์โอนแหล่งจ่ายไฟอัติโนมัติ ATS
- Converter / Buck-Boost / Step up-down
สินค้าโปรโมชั่น
มอเตอร์ 36VDC 1000W 3000RPM (ราคาโปร 1890 บาท เท่านั้น)สำหรับทำปั๊มชัก สูบน้ำเพื่อการเกษตร **** ราคาโปรโมชั่น ****
รหัสสินค้า: MT-26507 /มอเตอร์ 36VDC 1000Wคะแนนสะสม: 0
สถานะสินค้า: สินค้าหมด
มอเตอร์ 1000W 36VDC 35.6A 3000RPM สำหรับทำปั๊มชัก สูบน้ำเพื่อการเกษตร
การนำมอเตอร์ดีซีขนาด 1000W 36V ไปประกอบใช้งานในด้านต่า่งๆ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากคือ
- มอเตอร์ที่นำมาใช้งานเหมาะสมกับงานหรือไม่
- พิจารณาถึงรอบของมอเตอร์ จะต้องสัมพันธ์กันกับความต้องการของตัวอุปกรณ์ เพื่อไม่เกิดการเสียหายหรือด้อยประสิทธิภาพในการใช้งาน
- พิจารณาแรงบิดของมอเตอร์ ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ที่จะนำตัวมอเตอร์มาติดตั้งว่าใช้แรงบิดหรือรับน้ำหนักได้เท่าไหร่ เพื่อไม่ให้เกิดการโหลดใช้งานที่หนักเกินไปซึ่งจะทำให้มอเตอร์เกิดความเสียหาย
- พิจารณาระยะเวลาใช้งานต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเลือกใช้งานมอเตอร์เล็กเกินไป จะทำให้มอเตอร์ร้อนเร็วและเสียหายได้
เทคนิคการนำมอเตอร์ดีซี 1000W 36V มาใช้งานร่วมกับปั๊มชัก ระบบโซล่าเซลล์
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการเกษตรของเราได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งโดยนำระบบโซล่าเซลล์นำมาประยุกต์ดัดแปลงใช้งานโดยการนำมาประกอบกับปั๊มชัก ปั๊มเจ๊ต ปั๊มเพลาลอย เพื่อต่อกับระบบโซล่าเซลล์เพื่อดูดใช้น้ำฟรี ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าและนำมันซึงช่วยลดต้นทุนทางการเกษตรไปได้มากทีเดียว สำหรับตอนนี้เราจะบอกเทคนิคในการประกอบปั้มชักง่ายๆโดยไม่ต้องซื้อสำเร็จจะประหยัดเงินได้พอสมควร แต่ถ้าใครไม่สะดวกประกอบเองก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายทั่วไป
การประกอบจะอธิบายง่ายๆแบบไม่ซับซ้อน(เพื่อไม่ต้องการให้ผู้ประกอบสับสนและดูยาก) ส่วนเจาะลึกในรายละเอียดทางเราจะโพสให้อีกครั้งนึง
1. วางแผนก่อนอันดับแรกว่าต้องการใช้น้ำมากน้อยและงบประมาณมากน้อยแค่ไหน
2. สำหรับมอเตอร์ขนาด 1000W 36V ปั้มชักที่เหมาะสมคือขนาด 1นิ้ว และ 1.5นิ้ว ส่วน ขนาด 2นิ้วสามารถขับมอเตอร์ได้แต่จะร้อนเร็ว (มากกว่านั้นไม่ควรใช้) มีหลายขนาดลูกสูบ ก็เลือกกันไปตามความเหมาะสม
3. นำเอามอเตอร์มาถอดเฟืองเดิมออกเพื่อใสมู่เล่แทน(ทางร้านเรามี)
4. นำมอเตอร์ที่ใสมู่เล่แล้วนำมายึดบนฐานปั้มชักและนำสายพานขนาดพอดีใส่ปั้มชักและมอเตอร์เสร็จแล้วยึดน็อตให้แน่น
5. ลองเทสการหมุนของมอเตอร์โดยต่อเข้ากับระบบโซล่ราเซลล์ ซึ่งควรใช้แผงอย่างน้อย 900-1000W จะต่อตรงเข้ามอเตอร์หรือผ่านแบตเตอรี่ก็ได้
6. เมื่อตรวจสอบการหมุนและเช็คทางเข้าออกน้ำถูกต้องแล้วให้นำท่อต่อทางด้านดูดจุ่มลงในน้ำ(ต้องมีหัวกระโหลกกันน้ำย้อน)
7. เติมน้ำไล่ลมที่ตัวปั้มชัก เสร็จแล้วลองเดินเครื่องว่าน้ำสามารถดูดขึ้นตามปกติไหม
8. หลังจากนั้นให้นำท่อต่อเข้ากับทางออกน้ำของตัวเครื่องและใช้งานได้ในทันที
เห็นไหมครับว่าการทำปั้มชักโซล่าเซลล์ไม่ได้มีอะไรยากเลย แต่มีจุดสังเกตและแนะนำที่ควรรู้ดังนี้
1.ถ้ามอเตอร์หมุนแต่น้ำไม่ขึ้น ให้ตรวจสอบ
- หัวกระโหลกว่าน้ำไหลย้อนกลับไหม
- การต่อท่อตั้งแต่ตัวเครื่องขาน้ำเข้า มีอากาศเข้าได้ไหม ซึ่งบางครั้งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (อากาศเข้าเพียงนิดเดียวน้ำก็ไม่ขึ้นครับ)
- ไม่ควรต่อท่อขาดูดยาวมากจนเกินไป ยิ่งสั้นยิ่งดี นั่นหมายความว่าปั้มของท่านควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำนั้นๆ ถ้าจำเป็นต้องไกลสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเซตอุปกรณ์ให้ดี
- ถ้าดูทุกอย่างดีแล้วน้ำไม่ขึ้น อาจมีปัญหาที่ตัวปั้มชักเองอาจรั่วอากาศเข้า หรือลูกยางอาจมีปัญหา
2.ข้อควรระวัง
- ไม่ควรต่อสายไฟจากระบบจ่ายไฟยาวเกินไปจะทำให้เกิดการสูญเสียในสายและแรงดันไฟตก ทำให้มอเตอร์ทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่ทำงานเลยก็ได้
- ควรระวังความร้อนที่ตัวมอเตอร์ ใช้งานแรกๆ ควรมั่นเช็คความร้อน ถ้าถึงขนาดจับไม่ได้เลย2-3วินาที ต้องปิดพักใช้งานทันที
- การแก้ไขปัญหามอเตอร์ร้อน แก้โดยวิธีง่ายๆโดยใช้พัดลมดีซีต่อสายเดียวกันเป่าที่ก้นมอเตอร์เพื่อระบายความร้อน
ลองทำใช้งานดูกันนะครับ ติดปัญหาติดต่อสอบถามได้ที่ไอดีไล @mrtoolshop ได้ครับ
เขียนข้อคิดเห็น
ชื่อของคุณ:ความคิดเห็น: หมายเหตุ: ไม่รองรับข้อความที่มีรูปแบบ เช่น HTML!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: